วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2551

มอเตอร์กระแสตรง

ขอเริ่มต้น ในเรื่องของ "มอเตอร์กระแสตรง" โดยจะเน้นเรื่องของการใช้งาน ปัญหาที่พบ ในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับ "carbon brush"

โครงสร้าง

มอเตอร์กระแสตรงมีขดลวดที่สำคัญ 3 ขดด้วยกัน ได้แก่

1.ขดอาร์เมเจอร์(Armature winding) เป็นขดที่มีขดลวดขนาดใหญ่ แต่มีจำนวนรอบน้อย เพราะต้องรับกระแสที่สูงมากๆ เนื่องจากทอร์คบิดสูงๆต้องการกระแสอาร์เมเจอร์สูงๆ เพื่อให้สามารถขับโหลดไปได้(ตามสมการพื้นฐาน dc motor) ขดลวดอาร์เมเจอร์มีการพันอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่ แบบแล็พ แบบเวฟ และแบบผสมหรือ frog leg นั่นเอง เรื่องการพันขอข้ามเพราะมีหนังสือหลายเล่มอธิบายได้ดีอยู่แล้ว ในที่นี้จะให้ความสนใจในเรื่องผลจากความผิดปกติของขดลวด ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปต่างๆที่ carbon brush เพื่อหาสาเหตุและทางแก้ไขที่ถูกต้อง

ขดอาร์เมเจอร์ได้รับกระแสตรง(direct current) จากแหล่งจ่ายผ่านทางคอมมิวเตเตอร์ commutator ที่ยึดอยู่เป็นเพลาเดียวกับขดอาร์เมเจอร์เรียกรวมว่า "rotor" จุดเชื่อมต่อระหว่าง commutator และขดลวดอาร์เมเจอร์เรียกว่า "riser" ถือว่าเป็นจุดอ่อนไหวมาก เนื่องจากหากมีการเปลี่ยนแปลงของโหลดอย่างกระทันหัน รอบเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจเกิดการช็อตที่ riser ซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้จะแสดงออกทางคอมมิวเตเตอร์

2.ขดฟีล(field winding) เป็นขดที่มีจำนวนรอบมากแต่มีเส้นลวดขนาดเล็ก รองรับกระแสน้อย หน้าที่หลักคือ สร้างฟลักซ์ให้ไปตัดกับขดลวดอาร์เมเจอร์ที่โรเตอร์นั่นเอง ฟลักซ์ฟีลถือว่าเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญต่อมอเตอร์มาก จำนวนของขดฟีลจะบอกจำนวนว่ามอเตอร์ตัวนั้นมีกี่โพล โดยโพลที่เป็นขั้วเดียวกันจะอยู่ตรงข้ามกัน(กรณีตั้งแต่ 2 โพลขึ้นไป)

3.ขดอินเตอร์โพล(interpole winding) ประกายไฟที่เกิดขึ้นบนคอมมิวเตเตอร์และก้อนถ่าน สามารถบรรเทาได้ด้วยขด "interpole" เป็นขดที่วางตัวแทรกอยู่ระหว่างขดฟีล ติดตั้งอยู่ที่สเตเตอร์ ต่ออนุกรมกับอาร์เมเจอร์ หน้าที่หลักคือ ลดการอาร์คที่หน้าสัมผัสถ่าน ฟลักซ์ที่ออกมาจะเท่ากับฟลักซ์อาร์เมเจอร์เพื่อหักล้างกันจนหมดไป โดยไม่ส่งผลไปถึงฟลักซ์เมน(ฟลักซ์ฟีล)

ไม่มีความคิดเห็น: