วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2551

3.ซ่อม ติดตั้ง PM เน้นมากๆเลย



ส่วนที่มักเป็นปัญหามีหลายจุดนะ จะยกตัวอย่างจุดที่สำคัญๆละกัน

1.COMMUTATOR
  • คอมมิวเตเตอร์ รับไฟตรงจากแหล่งจ่าย กระแสจะสูงมากๆเลย เอาไว้สร้างทอร์คให้เพียงพอตอนสตาร์ทและตอนโหลดเข้า
  • มันทำมาจากทองแดง ทองแดงมีหลายชนิด หลายราคาขึ้นอยู่กับโรงซ่อมว่าจะเลือกใช้แบบไหน แน่นอนว่าของยุโรปจะดีกว่า แข็งกว่าของจีนแน่นอน เคยขัดของ ABB กับของจีน แข็งต่างกันเยอะเลย อย่างว่าแหละ ABB ตัวนึงซื้อของจีนได้อีกเยอะเลยล่ะ ขนาดปูนว่าใหญ่ๆยังต้องใช้เลย
  • ซี่หัวคอมแต่ละซี่จะแยกกัน โดยมีไมก้าเป็นฉนวนกันระหว่างกัน ถ้าเกิดช๊อตกันจะแสดงที่หน้าหัวคอม จะเป็นรอยอาร์ค อาร์คจากช็อตที่ไรเซอร์(back of riser) เดี๋ยวจะรูปบอกในตอนหลังครับ

แสดงหัวคอมหลังจากเอาไปอบมา กำลังกลึงล้างหน้า

  • หัวคอมจะเหมือนจอแสดงผล หากไม่มีความผิดปกติ หัวคอมจะเรียบ ฟิล์มดี ไม่มีรอยอาร์ค แต่หากกระแสไม่ปกติ มีการช๊อต คอมมิวไม่เรียบ ความชื้นสูง ความเป็นฉนวนต่ำ สามารถดูได้จากหัวคอมทั้งหมดเลย
  • หลังกลึงล้าง ขัดแล้ว โรงซ่อมเค้าจะวัดว่ามันกลมรึเปล่า โดยใช้ dial gauge จับที่หัวคอมดูเข็มว่ามันตีขึ้นลงเกินมาตรฐานรึเปล่า แต่ที่ใหญ่ๆสามารถหาเครื่องวัดความกลมที่เป็นดิจิตอล(motor scope) สามารถวัดได้ถึงระดับไมโครเมตรเลยทีเดียว เครื่องวัดความกลมจะอธิบายตอนหลังนะ


พอกลึงหน้าเรียบร้อยแล้ว ก็เซาะร่องไมก้า

  • ไมก้าที่เป็นฉนวนระหว่างซี่คอม แข็ง ดังนั้นหากมันยื่นโผล่ออกมาสูงกว่าซี่แล้ว มันจะโดนถ่านทำให้ ทำให้ถ่านสึกเป็นเส้นๆ ถ่านกระโดดเนื่องจากไปสะดุดไมก้า พอเอาไมก้าออกแล้วก็ค่อย ค่อยใช้ใบเลื่อยหรืออุปกรณ์พิเศษกรีดเอาทองแดงที่ขอบของแต่ละซี่ออก(bevel)มุมการเซาะร่องต้องอยู่ระหว่าง 60-90 องศา อันนี้เป็นแบบ V-shape ข้อดีคือสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ ฝุ่นหรืออะไรก็ตามจะไม่ไปอุดที่ร่องซี่นะ ถ้าเป็นแบบ U-shape แม้จะไม่สะอาดตัวเองได้แต่จะทนกว่าไม่ต้องไปกลึงล้างเซาะบ่อยๆ
  • เสร็จแล้วก็ขัดด้วยกระดาษทรายละเอียดอีกรอบนึง ปกติจะขัดบนเครื่องบาลานซ์นะ(เครื่องบาลานซ์เป็นเครื่องวัดการแกว่ง ว่าโรเตอร์หมุนได้ดีหรือไม่บาลานซ์ให้เท่ากันไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งแกว่งหรือยื่นออกเกินส่งผลต่อการหมุน ถ้าตรงไหนไม่ดีก็จะติดด้วยก้อนเรซิ่นคล้ายๆดินน้ำมัน) เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดู
  • เท่าที่รู้ในบ้านเราผู้ผลิตหัวคอมคงมีไม่กี่เจ้า ช่างหลายที่มักบนให้ฟังว่าได้ของช้า ไม่ทันส่งงาน ที่สำคัญราคาไม่ได้ถูกเอาซะเลย แค่มอเตอร์โฟล์กลิฟท์ไม่ถึง 100 ซี่ราคาหมื่นกว่าบาท
  • จริงๆแล้วมีมาตรฐาน EASA มีการอธิบายการต่อ ประกอบหัวคอมเข้าแกนเพลา ต้องใช้วัสดุอะไร อุณหภูมิเท่าไหร่ มันมีอีกเยอะมากเลย ผมเดาเอานะ แต่เท่าที่รู้ราคามันแพงมากครับ เล่มนึงไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นกว่าบาท โรงซ่อมใหญ่ๆน่าจะมีนะ แต่ผมไม่มีหรอก ถ้าหาได้เดี๋ยวจะเอามาแปลลงนะ ตอนนี้ก็เอาที่หาได้ก่อนนะ ผมว่าน่าจะเป็นประโยชน์บ้างละน้า


อ่าวมาดูเรื่องการหน้าคอมมิวกันต่อเลย บอกไปแล้วว่าสภาพมอเตอร์จะเป็นอย่างไรจะแสดงออกมาทางหน้าหัวคอมหมดเลย มีชาร์ตด้วยเดี๋ยวจะอธิบายให้ฟังนะครับ




1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เจ๋งมากครับ