วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

เทสมอเตอร์ดีซียังไง

โรงซ่อมเค้าเทสยังไง มันมีอะไรกันบ้าง

1.drop test
2.surge test
3.bar to bar test
กล่าวคือ drop test ทดสอบดูขดฟีลและคอมเพนเสทมีการช็อตเทรินกันรึป่าว
จ่ายไฟดีซีเข้าไปประมาณ 100% ก็พอ เช็ คโวลทดูว่าดร็ปเท่ากันทุกคนรึป่าว แต่อย่าลืมหล่ะว่าเป็นการต่อแบบซีรี่หรือขนาน
ขยายความอีกนิด ถ้าต่อซีรี่จะต้องดูค่าโวลท ถ้าขนานต้องดูค่ากระแสไง จำได้ป่าว ไฟฟ้าฟิสิกส์ง่ายๆ ถึงแม้แรงดันจะมากแต่ควบคุมกระแสไว้ต่ำก็ไม่ต้องระวังไฟดูดมากนัก

bar to bar test
วัดค่าความต้านทานระหว่างซี่คอมมิวที่ติดกัน แล้วมาเปรียบเทียบกัน หาค่าเฉลี่ยออกมาแล้วเช็คหาตัวที่ตกค่า แสดงว่ามีความผิดปกติ เช่น ช๊อตเทริน ฉนวนเสื่อมสภาพหรือแห้งเกินไปทำให้ ค่าความต้านทานมากหรือน้อยเกินไปนั่นเอง

โรงซ่อมบางที่จะไม่วัด bar to bar เพราะมองว่าไม่ได้ประโยชน์อะไร นานาจิตตัง อาจมีการวัดค่า L เช่นเดียวกับ R เพื่อเปรียบเทียบกันก็เป็นการวิเคราะห์อีกรูปแบบหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สายหลุด

เคเบิลเป็นโลหะทองแดง เป็นสายตีเกลียวขนาดเล็กมาก สานเรียงตัวกันไปมา จนเป็นเส้นขนาดต่างๆ ตั้งแต่ 0.5 mm. ไปจนถึง 6.3 mm. shunt หรือเคเบิลจะมีการแท็มป์ด้วยผงทองแดงเป็นส่วนใหญ่ นอกจากผงทองแดงแล้ว ยังมีผงกราฟไฟต์และผงเหล็ก ซึง่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้า ทางกลต่างกันไป

การแท็มป์เป็นกระบวนการตอกผงเข้าไปในรูที่เจาะใหญ่กว่าขนาดถ่านเล็กน้อยจนแน่น มีการทดสอบแรงดึงว่ามีค่าเกินค่ายอมรับได้หรือไม่ แต่สภาวะการใช้งานที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็น คอมมิวที่ไม่กลม เดินโอเวอร์โหลด vibration จากการตั้ง alignment แย่ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่ออายุถ่าน

สายหลุดมีหลายประเภท แต่ส่วนใหญ่เป็นการหลุดจาก vibration เป็นการหลุดทั้งพวงพร้อมกับผงแท้มป์


mar 24,2009
ความจริง เรื่องนี้ค่อนข้งพูดยากเนื่องจาก ผู้ใช้งานจะเชื่อเสมอว่ามอเตอร์หรือเครื่องจักรของตนยังอยู่ในสภาพดี ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลหรือผลจากการวัดก็ตาม จริงอยู่มาตรฐานท่ใช้กันในปัจุบันนั้นอาจจะดูว่าเกินความเป็นจริงไปซักหน่วย
ซึ่งจุดยืดหยุ่นก็มีเหมือนกัน

ปัจจุบันค่าที่เป็นมาตรฐานจึงจำเป็นต้องทำให้เกินไว้ เพราะว่าสภาพการใช้งานจริงหนักกว่ามาตรฐาน ซึ่งทดสอบในห้องทดลอง เพื่อเป็นการป้องกันจึงมีการแท้มป์สายเคเบิลทำมุมกับแนวดิ่งแทนที่จะแท้มป์เป็นแนวดิ่งเลย อีกทั้งยังเพิ่มขนาดสายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มจุดสัมผัสให้สายเคเบิลรวมเป็นเนื้อเดียวกับก้อนถ่านมากที่สุด แต่หากมีการเปลี่ยนรูปแบบได้ก็จะเปลี่ยนเป็นการ rivet เนื่องจากไม่ต้องแท้มป์แต่เป็นการร้อยสาย ยึดด้วยสคริป แต่แน่นอนว่าการเชื่อมกันทางไฟฟ้าจะน้อยกว่าการแท้มป์แน่นอน

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2551

เจอมาเลยบอกต่อ...

case1 เสียงดังน่ากลัว
ปกติถ่านที่ผลิตใหม่จะทำเคริฟของหน้าสัมผัสให้พอดีกับห้าคอม เพื่อที่จะการนำกระแสไฟฟ้าจะได้เต็มพื้นที่ ดังนั้นก่อนการใช้งานจริง โรงซ่อมจะต้องเป็นคนทำให้มันเข้ากับได้พอดี คือ เดินมอเตอร์แบบไม่มีโหลด เพื่อให้มันขัดสีกันจนเข้ากันจนแนบสนิท แต่ไม่ใช่แป๊บๆนะ ต้องเดินหลายชั่วโมงเลยแหละ

หากไปเปลี่ยนหน้างาน อาจไม่ได้ใช้วิธีดังกล่าว หน้าถ่านอาจจิกลงไปบนหัวคอม จนเกิดเสียงดังขึ้น ด้วยความตกใจช่างเลยสั่งหยุด อธิบายก็ไม่ฟัง เลยต้องเอากระดาษทรายขัดให้เข้ากันพอดี แล้วหมุนมันจึงไม่มีเสียงดังอีก เฮ้อ เหนื่อย เรื่องแค่นี้ทำเป็นเรื่องใหญ่ไปได

แต่ถ้าไม่ได้เครียดมากก็ใส่แล้วปล่อยทิ้งไว้เลย ไม่นานมันก็เข้ารูปเองแหละ เพราะผู้ผลิตถ่านจะทำโค้งเคริฟไว้ให้อยู่แล้ว แต่ส่วนมากจะกว้างกว่าหน้าเคริฟของหัวคอมเพื่อไม่ให้ถ่านจิกนั่นเอง

Slot Bar Burning รอยอาร์คที่ซี่คอมเต็มๆ

เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ว่าอันตรายมาก สามารถละลายซี่ได้เลย มีหลายรูปแบบแล้วแต่การออกแบบขดลวดเป็นอย่างไร หรืออาจเกิดจากปรับทางไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสมก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551

SLOT BAR FILMING ฟิล์มเว้นซี่รูปแบบซ้ำเดิม

ตามรูป ฟิล์มจะมีเป็นซี่เว้นซี่และจะเป็นทั้งลูกหัวคอม ขึ้นอยู่กับจำนวนขดอาร์เมเจอร์ที่ติดตั้งอยู่ในสลอตหนึ่งสลอต อาจเว้นหนึ้ง เว้นสองก็ได้แล้วแต่ ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติแต่จะต่างกับอีกแบบนึงที่เรียกว่า "SLOT BAR BURING" ที่จะเป็นการอาร์คไหม้ทุกๆ 2,3 หรือ 4 ซี่ แล้วแต่การออกแบบขดและความรุนแรง

หากรุนแรงมาก ประกายไฟจะสูง ความร้อนเยอะจนละลายซี่คอมได้เลย มักเกิดกับมอเตอร์ที่มีอายุเกิน 15 ปี เพราะว่าเป็นการพันแบบเก่า การปรับเลื่อนโซนอาจบรรเทาได้บ้าง

เอาเป็นว่าไม่ต้องตกอกตกใจกับมัน ถือว่าปกติ

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

Grooving การกัดเป็นร่องลึก

สาเหตุสำคํญได้แก่

  • การเดินโหลดต่ำ อาการต่อเนื่องจาก threading แต่ความรุนแรงสูงกว่า
  • แรงกดสปริงต่ำมากๆ(too low tension spring) ทำให้ถ่านไม่สามารถกดแนบได้สนิทกับหัวคอม
  • สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยฝุ่น การกัดกร่อน
  • ถ่านที่คุณสมบัติขัดสีสูง(abrasive carbon grade)

Grooving เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นบ่อยมาก พบเยอะ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่กล่าวข้างต้น หากการกัดรุนแรงมากลึกจนไปถึงไมก้า จำทำให้ถ่านถูกกัดจากไมก้าอีกต่อ ถ่านจะสะดุด วิ่งได้ไม่สะดวก การนำไฟฟ้าจะลดลงเพราะสัมผัสไม่เต็มที่ ประกายไฟสูง ถือว่าเป็นความเสี่ยงสูง

โรงน้ำตาล โรงเหล็ก โรงกระดาษพบได้หมด แต่ละที่ล้วนแต่มีสภาพแวดล้อมที่หนักๆทั้งนั้น ถามว่าแล้วจะป้องกันอย่างไร ก็ต้องเพิ่มโหลดเข้าไป หมั่นตรวจเช็คแรงกดสปริงอยู่เสมอ ให้เป็นไปตามามาตรฐาน จริงแล้วมีหลายมาตรฐานเหลือเกิน แล้วแต่ผู้ผลิตถ่าน แต่มันจะไม่ต่างกันมากหรอก

อีกอย่างเมื่อเกิดการกัดแล้ว แน่นอนว่าความกลมหัวคอมจะไม่ได้มาตรฐาน สุดท้ายก็ต้องไปกลึงล้างใหม่หรือถ้าแย่มากๆก็ต้องซื้อใหม่แพงด้วย

หัวคอมเน้นๆ สบายๆสไตล์คนขับรถบรรทุก



หัวคอมเน้นๆ จะมีเนื้อหาตั้งแต่ลักษณะหน้าสัมผัส สาเหตุ การแก้ไข เอาเป็นว่าขอเริ่มจากปัญหา ไปสู่สาเหตุ ต่อด้วยการแก้ไขนะครับ เพื่อที่คนอื่นจะได้มองเห็นว่าอาการแบบนี้มันมีอยู่จริง แล้วจะได้ไม่มองข้ามสาเหตุที่เป็นต้นตอปัญหาที่แท้จริง
1.การกัดคอมมิวเป็นเส้น Threading

สาเหตุ ทั้งทางไฟฟ้าและทางกล แต่จะหนักไปทางไฟฟ้าเนื่องจากการเดินโหลดต่ำซะเป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้ยังมี
  • เดินโหลดต่ำ (low load,light load) สาเหตุหลักเลย พบมากที่สุด แทบทุกที่เจอหมด ทำไมนะหรอ เพราะบ้านเราซื้อมอเตอร์เผื่อขยายงานในอนาคต แต่ปัจจุบันยัง เลยใช้โหลดต่ำอยู่ บางที่ต่ำกว่า 30% ก็ยังมีครับ
  • ถาม แล้วเมื่อไหร่ถึงะจเรียกว่าโหลดต่ำครับผ๊ม
  • ตอบ คือ J หรือ current density ต่ำกว่า 6 A/cm2(กว้างxยาว) เราจะวัดกระแสที่ผ่านหน้าสัมผัสถ่านทุกก้อนที่เป็นขั้วบวก(สมมติว่ามอเตอร์ตัวนี้มี 4 poles จะใช้โพลละ 5 ก้อนดังนั้น จะมีถ่านขั้วบวกเท่ากับ 10 ก้อน)
  • ถาม แล้วค่ากระแสเอามาจากไหนล่ะ
  • ตอบ เอามาจากเนมเพลทครับ แต่ต้องคิดจากค่ากระแสที่มอเตอร์เดินจริงๆนะ ดูได้จากข้อมูลไดร์ฟ ไม่งั้นค่ามันจะสูงเกินจริง
  • ถาม แล้วมันกัดยังไงลองพูดให้เห็นภาพหน่อยได้ไม๊
  • ตอบ เอาอย่างงี้นะ หน้าคอมกับถ่านจะต้องถูกันไป สีเสียดกันตลอดเวลาจริงไม๊ เมื่อกระแสมันต่ำ กระแสที่ผ่านถ่านจะไม่สม่ำเสมอ หนักเบาไม่เท่ากันทั้งหน้า ตรงส่วนที่หนักจะทำให้ทองแดงของหัวคอมหลุด แทรกอยู่ระหว่างหน้าสัมผัส พอมันหมุนไป ก็ขัดทั้งถ่านและหัวคอมเป็นเส้น เล็กบ้างใหญ่บ้าง แล้วแต่ความรุนแรง ประกอบกับ J ที่ต่ำความสามารถในการสร้างฟิล์ม(oxidation)ก็จะไม่ดี ความเสียดทานเพิ่ม ทองแดงหลุด พังเลยหัวคอม

ทางแก้ไข ถ่านคาร์บอนที่ใช้ทำ carbon brush มีเป็น 100 เกรดดังนั้นเกรดที่เหมาะกับ light load ก็มีเช่นกัน

ช้าก่อน มีวิธีที่แหล่มกว่านั้นคร้าบ เรารู้ว่าโหลดต่อก้อนมันต่ำเราก็เพิ่มโหลดให้มันซิครับ เพิ่มไงนะหรอก็ลดจำนวนก้อนถ่านลงไง เมื่อถ่านต่อโพลขั้วบวกลดลง ตัวหารก็จะลดลง ดังนั้นกระแสต่อพื้นที่ก็จะเพิ่มขึ้นนะ ง่ายดี ไม่ต้องซื้อถ่านมาเปลี่ยนเกรดด้วย แต่คุณพี่ต้องมั่นใจนะว่าโหลดจะไม่สวิงตอนโหลดมันเข้า อย่างเหล็กมันเข้าน่ะ ถ้าลดถ่านแล้วมันจะรับกระแสไม่ไหว ระเบิดขึ้นมาคนขับรถไม่เกี่ยวนะครับ

ปล.ต้องชั่งน้ำหนักดูว่าโหลดเข้านานเปล่า แล้วเดินโหลดต่ำนานไหม ชั่งๆดู ค่อยตัดสินใจว่าจะเลือกอิแบบไหนหง่า

  • มาพูดถึงเรื่องฟิล์ม ฟิล์มเป็นเลเยอร์ที่เกิดขึ้นที่หน้าหัวคอมเรียกว่า"ปาติน่า" เป็นเลเยอร์ออกไซด์ของกราไฟต์ ความชื้นภายในมอเตอร์เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเป็นฟิล์มสีดำเคลือบหน้าหัวคอม ฟิล์มที่ดีบ่งบอกถึง ความเสียดทานที่ต่ำ ภาวะ Threading หรือการขูดขีดเป็นเส้นจะไม่เกิด ดังนั้นปัจจัยของฟิล์มที่ดีมีหลายอย่าง เช่น
  • ค่า J ที่พอดี ค่าความหนาแน่นกระแสไม่ต่ำกว่า 6 A/cm2 พูดง่ายๆคือ โหลดไม่ต่ำ
  • อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 80-90 องศาเซลเซียส บางคนคิดว่าข้อนี้ไม่น่าปัญหานี่ ก็ในมอเตอร์เทมป์มันสูงอยู่แล้ว แต่จริงๆที่หัวคอมมันไม่สูงอย่างที่คิด เพราะว่า โบล์วเวอร์จากภายนอกเอาลมมาไม่ว่าจะจากในโปรเซสหรือภายนอกก็ตาม ช่องลมที่เป่าเข้าจะอยู่บนหัวคอมพอดี ลมก็จะลงที่มันโดยตรง อุณหภูมิจึงไม่ถึงค่าที่ต้องการ หลายครั้งที่อาจไม่ถึง 37 องศา ความชื้นก็ต่ำ ทำให้ความรุนแรงยิ่งสูงขึ้น
  • ความชื้น บอกไปตอนแรกแล้วว่า มันจะต้องประกอบด้วยความชื้น ไอน้ำ ออกซิเจน เพื่อเกิด oxidation reaction แต่ถ้ามันต่ำก็มีวิธีเพิ่มเหมือนกันนะ อาจจะดูตลกๆแต่ฝรั่งเค้าบอกมาว่า เอาถาดน้ำเติมน้ำแล้วใส่ไว้ในมอเตอร์จะช่วยได้นา หรอเอาไอน้ำจากโปรเซสต่อเข้ามอเตอร์ ก็ช่วยเพิ่มได้เหมือนกัน
  • contaminated atmosphere มอเตอร์ใช้ในงานที่มีความเป็นกรดกัด อากาศที่มีการเจือปนสูง
  • เห็นไม๊ว่ามันยุ่งยากขนาดไหน เฮ้อเครียด